658cf3e4cd781.jpg 658cf604a0178.jpg

รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านวิจัย เป็นผู้แทนคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รับมอบโล่รับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ
(National Ethics Committee Accreditation System of Thailand: NECAST)
ในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561" เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2561
ณ ห้อง World Ballroom ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ


วิสัยทัศน์และพันธกิจ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัย มีการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาปฏิบัติการวิจัยที่ดี และตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรมการศึกษาวิจัยตามหลักมาตรฐานสากลตลอดจนผลักดันให้การศึกษาวิจัยของคณะฯ สู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ในการดำเนินงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยยึดมั่นในวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อปกป้องสิทธิและสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยจากภยันตรายอันเนื่องมากจากการวิจัย
  • เพื่อมั่นใจว่าการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มีคุณค่าเชิงวิชาการและถูกต้องตามหลักจริยธรรมสากล
  • เพื่อมั่นใจว่าการวิจัยที่่กำลังดำเนินอยู่ยังคงมีความเหมาะสมทางจริยธรรม

วิสัยทัศน์ (Vision) :

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินงานตามมาตรฐานสากล มุ่งส่งเสริมงานวิจัยของคณะฯ สู่ความเป็นเลิศตามแนวทางการปฏิบัติการวิจัยที่ดี

พันธกิจ (Mission)

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เป็นคณะกรรมการที่จะดูแลให้การวิจัยที่ใช้ตัวอย่างวิจัย (research subjects) เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่ดำเนินการในคณะเทคนิคการแพทย์หรือดำเนินการโดยบุคลากรของคณะเทคนิคการแพทย์ หรือดำเนินการโดยบุคลากรสถาบันสมทบเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมสากล คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สามารถตัดสินใจโดยอิสระ ปราศจากอคติอันเนื่องจากระบบบริหาร นักวิจัย หรือผู้อุปถัมภ์

องค์ประกอบคณะกรรมการและการแต่งตั้ง

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ แต่งตั้งโดยคณบดี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อย 4 คน ซึ่งมีทั้งเพศหญิงและชาย มีความรู้และประสบการณ์ครอบคลุมสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ดำเนินการอยู่ในคณะฯ เช่น สาขาวิชาแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค กิจกรรมบำบัด และอย่างน้อย 1 คน ไม่อยู่ในสาขาทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งอาจเป็นผู้แทนชุมชน

ปัจจุบัน คณะกรรมการและที่ปรึกษาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีรายนามดังต่อไปนี้

MEMBERSHIP ROSTER-ETHICS COMMITTEE

กรรมการประจำ

1. รองศาสตราจารย์ ดร.นิมิตร มรกต - ประธานกรรมการ
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ - กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ชาตรี เรืองเดชณรงค์ - กรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สยาม ทองประเสริฐ - กรรมการ
5. รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร สังขรัตน์ - กรรมการ
6. รองศาสตราจารย์ ดร.จนัญญา ปัญญามี ทิพย์พยอม - กรรมการ
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ ศิริสัตยะวงศ์ - กรรมการ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรยา มั่นเขตวิทย์ - กรรมการ
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฟ้าใส คันธวงค์ - กรรมการ
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำผึ้ง อนุกูล - กรรมการ
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ศรีบุรี - กรรมการ
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เนตรทอง นามพรม - กรรมการ
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรยา พรเอี่ยมมงคล - กรรมการ
14. นางนวลลออ จุลพุ์ปสาสน์ - กรรมการ
15. รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ พวงมะลิ - กรรมการและเลขานุการ
16. นางสาวสุภาณี พิศวง - ผู้ช่วยเลขานุการ
17. นางวาสนา พิโลนพงศธร - ผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการสมทบ

1. รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิสาข์ ไชยโย
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์อวิรุทธ์ อุ่นอารมย์

ที่ปรึกษาอิสระ

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล ที่ปรึกษาอิสระด้านเภสัชศาสตร์
2. นางสาวกิตติกา กาญจนรัตนากร ที่ปรึกษาอิสระด้านสถิติชีวการแพทย์

บุคคลซึ่งมีหน้าที่ปกป้องสิทธิและความปลอดภัยของอาสาสมัครเด็กในสถานสงเคราะห์

1. นางสาวอรุณี นะมะมุติ

กรอบหน้าที่

หน้าที่หลักของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คือ พิจารณาให้ความเห็นชอบด้านจริยธรรมการวิจัยต่อโครงการวิจัยที่เสนอโดยบุคลากรของคณะเทคนิคการแพทย์หรือบุคลากรในสถาบันสมทบที่มีความประสงค์จะดำเนินการวิจัยในคณะเทคนิคการแพทย์ หรือโครงการวิจัยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีบุคลากรของคณะเทคนิคการแพทย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย และไม่มีคณะกรรมการประจำสถาบันที่รับผิดชอบโดยมีกรอบหน้าที่ดังนี้

  • พิจารณาให้ความเห็นชอบเชิงจริยธรรมต่อโครงการวิจัยโดยอาศัยหลักจริยธรรมพื้นฐาน
    (ก) การเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย (respect for persons)
    (ข) ประโยชน์ (beneficence)
    (ค) ความเป็นธรรม (justice)
  • ให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคลากรของคณะ สถาบันสมทบ หรือสาธารณชนเกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัย
  • ส่งเสริมการศึกษาด้านจริยธรรมการวิจัยกับบุคลากรด้านการวิจัยของคณะเทคนิคการแพทย์และสถาบันสมทบ