ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภาพถ่ายทางการแพทย์
The Center of Medical Imaging and PACS

 

 

 
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภาพถ่ายทางการแพทย์ตั้งอยู่ที่ ชั้นสอง อาคาร 12 ชั้น คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Gigabit LAN) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจำนวน 15 เครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างภาพด้วยเทคนิคพิเศษ เครื่องอัลตร้าซาวน์ และเครื่องสแกนฟิล์มเอกซเรย์

 

การทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมควบคุมระบบ PACS เป็นไปตามมาตรฐาน DICOM  สามารถใช้งานแบบ Web PACS พร้อมที่จะรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับภายนอกผ่านระบบเครื่องข่ายของคณะเทคนิคการแพทย์ และระบบโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ปัจจุบันได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายทางการแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบริษัทไทยจีแอล จำกัด ผู้จำหน่ายเครื่องมือเอกซเรย์ 

 

วัตถุประสงค์
 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภาพถ่ายทางการแพทย์ก่อตั้งขึ้นมาโดยมีความมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอน ฝึกอบรม และทำงานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศภาพถ่ายทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ  สามารถพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศภาพถ่ายทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

การเรียนการสอน
 การจัดการเรียนการสอนและ ฝึกอบรม นักศึกษาและผู้รับการฝึกอบรม จะได้ใช้งานระบบสารสนเทศภาพถ่ายทางการแพทย์ที่จำลองเสมือนเป็นหน่วยงานรังสีวิทยาของ เรียนรู้เกี่ยวกับการรับและส่งภาพ การปรับแต่ง การสร้างภาพโดยใช้เทคนิคพิเศษ ภาพสามมิติ การทำภาพเคลื่อนไหว ซึ่งคล้ายคลึงกับการปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลที่มีระบบนี้ใช้งานอยู่
 ระดับปริญญาตรี  เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์  Medical Networking, PACS, Introduction to digital image processing, การใช้งานเครื่องและเทคนิคการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ อัลตร้าซาวน์ด , Roentgen anatomy เพื่อศึกษาภาพอวัยวะต่างๆที่ปรากฏในภาพรังสีวินิจฉัยทั้งภาพอวัยวะที่ปกติและที่ปรากฏรอยโรค
 

 ระดับปริญญาโท ศึกษาเกี่ยวกับ Digatal Image processing เป็นการใช้ตัวกรองทางคณิตศาสตร์ในการปรับปรุงภาพถ่ายทางการแพทย์ ให้เป็นไปตามลักษณะที่ต้องการ
ทั้งภาพ 2 มิติ, ภาพ3 มิติ, ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งภาพลักษณะพิเศษต่างๆ
 

ความร่วมมือในการวิจัย
 ปี 2549 
  มีความร่วมมือในการทำวิจัยกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 เรื่อง หัวข้อวิจัย “Preliminary determination of Wound Healing Prorerties of Propolis”  สำเร็จสมบูรณ์ กำลังดำเนินการตีพิมพ์
  มีความร่วมมือในการทำวิจัยกับคณาจารย์ภาควิชากายภาพบำบัด เป็นการศึกษาในเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ดวิเคราะห์กล้ามเนื้อหลังการรักษา
 

ปี 2550 
The evaluation of statistical error of the CT. image measurement.
 Computerize Assistance on Clinical Image with Factor analysis